โครงสร้างสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
อำนาจหน้าที่
วิเคราะห์ วิจัย ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการ องค์ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ให้คำปรึกษาแนะนำ วิเคราะห์สถานการณ์และสภาพแวดล้อม เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์เรียนรู้ นิเทศงาน ติดตามประเมินผล และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สอดคล้องกับพื้นที่ ได้แก่ หน่วยงาน พม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชน และประชาชน
ฝ่ายบริหารทั่วไป
๑) งานบริหารทั่วไป งานสารบรรณ งานช่วยอำนวยการ การบริหารงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ อาคาร สถานที่และยานพาหนะ การบริหารงานบุคคล
๒) ดำเนินด้านงานประชาสัมพันธ์
๓) ประสานการดำเนินงานระหว่างราชการบริหารงานกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
๔) ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์
๑) กำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมในภาพรวมระดับกลุ่มจังหวัด
๒) ศึกษาวิเคราะห์ วางแผนยุทธศาสตร์ และบูรณาการ เพื่อการจัดทำแผนทางสังคมให้สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในระดับกลุ่มจังหวัด
๓) แปลงนโยบายและยุทธศาสตร์จากส่วนกลางไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบ และเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์ระหว่างส่วนกลางและภูมิภาค
๔) ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อมเพื่อคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาสังคม และจัดทำยุทธศาสตร์ในระดับกลุ่มจังหวัด
๕) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสังคมในระดับกลุ่มจังหวัด
๖) สนับสนุนการนิเทศงานติดตามการประเมินผลการดำเนินงานเชิงวิชาการตามนโยบายและภารกิจของกระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด
๗) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดมาตรฐานการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่
๘) ให้คำปรึกษา วางระบบ และสร้างเครือข่ายการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและทันต่อเหตุการณ์
๙) สนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด
๑๐) ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
กลุ่มการวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย
๑) ศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้การพัฒนาสังคม ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม รูปแบบ แนวทางการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในสภาวะวิกฤติ และเป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
๒) จัดทำแผนแม่บทวิจัยการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในมิติพื้นที่
๓) ผลิตและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้แก่หน่วยงานในพื้นที่ องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้ององค์กรเอกชน / ประชาชน และภาคีเครือข่ายในระดับประเทศและต่างประเทศ
๔) ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดนักวิจัย และเครือข่ายทางวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมายในมิติพื้นที่
๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิชาการไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่
๖) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย ด้านวิชาการ การดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด
๗) เป็นศูนย์กลางการให้บริการและถ่ายทอดความรู้ด้านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แก่หน่วยงานในพื้นที่ องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชนและประชาชน
๘) เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด
๙) พัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงาน องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
๑๐) ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย